งานวิจัยเกมแนว MOBA มีความสัมพันธ์กับสภาวะผู้นำในชีวิตจริง
ไม่บ่อยครั้งนักที่เกมจะถูกจับมาใช้ศึกษาทางวิชาการ แต่เมื่อมีการหยิบเกมเอามาทำเป็นงานวิจัยก็มักจะได้ผลออกมาเป็นที่น่าสนใจเสมอ ล่าสุดมีงานวิจัยซึ่งเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ของคุณติณณวัฒน์ เนื่องจำนงค์ ซึ่งเป็นนักศึกษาไทย ระดับปริญญาเอก คณะเอเชีย-แปซิฟิกศึกษา สาขาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเกมแนว MOBA กับการพัฒนาสภาวะความเป็นผู้นำในชีวิตจริงครับ
ผลงานวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า Leadership Development Through Online Gaming ซึ่งว่าด้วยเรื่องของความสัมพันธ์ของการเล่นเกมว่าจะส่งผลต่อการเกิดสภาวะความเป็นผู้นำในชีวิตจริงของคนเล่นได้อย่างไรบ้าง โดยแนวเกมที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้คือแนว MOBA ซึ่งต้องมีการวางแผนและการสื่อสารในระหว่างเล่นกับผู้เล่นคนอื่นในทีม
ตัวบทคัดย่อของวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ได้กล่าวถึงที่มาที่ไปว่าก่อนหน้านี้มีงานวิจัยของ IBM บริษัทชั้นนำของโลกด้านไอทีในหัวข้อLeadership in Games and at Work : Implication for the Enterprise of Massively Multiplayer Online Role-Playing Games หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สภาวะความเป็นผู้นำในเกมและที่ทำงาน : ความเกี่ยวข้องจากการเล่นเกม MMORPG ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ไปเมื่อปี ค.ศ. 2007 และชี้ให้เห็นว่าการเล่นเกม MMORPG ส่งผลต่อการพัฒนาให้เกิดสภาวะความเป็นผู้นำได้ จึงเป็นที่มาของวิทยานิพนธ์ที่เจาะลึกไปศึกษาเกี่ยวกับเกมแนว MOBA ต่อในครั้งนี้
ตัวบทคัดย่อของวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ได้กล่าวถึงที่มาที่ไปว่าก่อนหน้านี้มีงานวิจัยของ IBM บริษัทชั้นนำของโลกด้านไอทีในหัวข้อLeadership in Games and at Work : Implication for the Enterprise of Massively Multiplayer Online Role-Playing Games หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สภาวะความเป็นผู้นำในเกมและที่ทำงาน : ความเกี่ยวข้องจากการเล่นเกม MMORPG ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ไปเมื่อปี ค.ศ. 2007 และชี้ให้เห็นว่าการเล่นเกม MMORPG ส่งผลต่อการพัฒนาให้เกิดสภาวะความเป็นผู้นำได้ จึงเป็นที่มาของวิทยานิพนธ์ที่เจาะลึกไปศึกษาเกี่ยวกับเกมแนว MOBA ต่อในครั้งนี้
ตัวอย่าง
สำหรับงานวิจัยในวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ได้เลือกเกม DotA และ HON มาเป็นตัวอย่าง และใช้การสำรวจจากกลุ่มผู้เล่นมาทำการประมวลผลอย่างเป็นระบบ โดยวิเคราะห์เพื่อแบ่งสภาวะผู้นำตามแบบของ Kurt Lewin’s Leadership Model ซึ่งมี 3 แบบด้วยกันดังนี้
Authoritarian หรือผู้นำแบบอัตตาธิปไตย ยึดตนเองเป็นหลัก เน้นการบังคับบัญชาและสั่งการ ไม่กระจายอำนาจแก่สมาชิก
Democratic หรือผู้นำแบบประชาธิปไตย ยึดหมู่คณะเป็นหลัก เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติงาน และการประเมินผล ตัดสินใจโดยกลุ่ม ให้เกียรติ ให้การยอมรับแก่สมาชิก
Laissez-faire หรือผู้นำแบบตามสบาย ให้อิสระแก่สมาชิกอย่างเต็มที่ ผู้นำเป็นแค่ผู้ผ่านเรื่อง และแสดงบทบาทน้อยมาก
Democratic หรือผู้นำแบบประชาธิปไตย ยึดหมู่คณะเป็นหลัก เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติงาน และการประเมินผล ตัดสินใจโดยกลุ่ม ให้เกียรติ ให้การยอมรับแก่สมาชิก
Laissez-faire หรือผู้นำแบบตามสบาย ให้อิสระแก่สมาชิกอย่างเต็มที่ ผู้นำเป็นแค่ผู้ผ่านเรื่อง และแสดงบทบาทน้อยมาก
สรุป
ส่วนในแง่ของผู้พัฒนาเกมนั้นก็ควรจะพัฒนาเนื้อหาของเกมให้เกิดประโยชน์ในด้านการพัฒนาทักษะในชิวิตจริง ไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาสภาวะผู้นำเหมือนงานวิจัยนี้เท่านั้น แต่เกมยังสามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะในการตัดสินใจดังในงานวิจัยที่มีมาแล้วก่อนหน้านี้หลายงานวิจัยด้วยกันด้วยครับ
ผมว่าคงเข้าใจกันคร่าวๆเเล้วน่ะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น